KHAOPHUTHONG-KHAOTHAKHANUN

Caving expedition en Thaïlande
Études des grottes et du milieu souterrain

ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจาก สหพันธ์ถ้ำวิทยาประเทศฝรั่งเศส ( French Speleology Federation) และการสนับสนุนจาก CDS Indre et Loire

15 มกราคม / 20 มีนาคม 2565  – rateaumines@rateaudidier

เมื่อไปถึงเป้าหมายก็ได้จัดการจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ แล้วเดินทางไปพบกับ Tounsaeng เพื่อนชาวกะเหรี่ยงที่บ้านปิล็อก ตามที่นัดกันไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งเขาได้บอกว่ายืนยันว่าเป้าหมายของเราที่ชายแดนนั้นไม่สามารถเข้าถึงได้ และที่ด่านตรวจของทหาร ตามจุดต่างๆจะไม่อนุญาตให้เราผ่าน

จากนั้นจึงกลับลงไปที่ทองผาภูมิ เพื่อพบคุณ เอก(Aik) เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า  ซึ่งภายหลังได้แจ้งให้เราทราบว่าไม่สามารถเดินทางไปที่ บ่องาม และ ลำคลองงูได้ เพราะมีช้างป่าและเสืออยู่ในพื้นที่  จึงเป็นพื้นที่ห้ามเข้า

ถึงแม้เราจะประสบการกับความไม่สะดวกเช่นนี้ แต่ขวัญและกำลังใจของเรายังคงอยู่ในระดับสูง เราได้แวะไปที่สถานีพิทักษ์ป่าของอุทยานแห่งชาติไทรโยคใหญ่ และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการสำรวจในบริเวณนี้ต่อ  จากนั้นจึงกลับไปที่กาญจนบุรี  เมื่อเปิดดูในสมุดบันทึกและพบว่าเทือกเขาหินปูนยุคเพอร์เมียน ดังกล่าวตือ เขาช้างผี  ซึ่งเป็นชื่อที่ทำให้รุ้สึกว่ามีความลึกลับเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย   จากการสำรวจในปี ค.ศ. 2020 ที่ผ่านมา เรายังไม่พบทางเข้า  ไม่มีใครทราบถึงตำแหน่งโพรงถ้ำในบริเวณดังกล่าว     เราไปถึงที่นั่นในเช้าวันที่ 21 มกราคม ชาวบ้านและพระสงฆ์ช่วยชี้บอกทางไปถ้ำให้กับเรา  แต่ก็ดูมีความกังวลเกี่ยวกับความตั้งใจของเรา  คุณสุนันทาจึงช่วยอธิบายให้ฟังถึงวัตถุประสงค์การมาสำรวจของพวกเราและได้นัดหมายกับ   คุณ อ๊อด (Oad) ซึ่งจะมากับเราในวันที่ 27 มกราคม

วันที่ 27 มกราคม เวลาประมาณ 04.30 น. เราออกเดินทางถึงหมู่บ้านบ้านสามัคคีธรรม ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำแควน้อย ห่างจากชายแดน 20 กม. ถ้ำตั้งอยู่บนบริเวณไหล่เขาขนาดเล็กๆ ที่ชื่อ เขาปากนกแก้ว (จงอยปากนกแก้ว) อ๊อด (Oad) นำเราให้เดินไปตามทางช่องว่างระหว่างก้อนหินและปีนขึ้นไปบนเขาที่สูงชัน ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงครึ่ง  จนไปถึงหินขนาดใหญ่บริเวณปากถ้ำด้านบนที่เป็นห้องโถงขนาดใหญ่   

ที่นั่นผมสังเกตเห็นจุดสีส้มบนผนังถ้ำ  จึงก้าวถอยออกมาเพื่อที่จะได้มองเห็นถนัดขึ้น และพบว่าเป็นภาพเขียนสี รูปช้าง ซึ่งเป็นตัวละครหนึ่งในภาพที่ฝาผนัง ว้าว! บรรพบุรุษของเราเคยผ่านมาที่นี่!  อ๊อดแปลกใจที่ไม่เคยสังเกตเห็น   เขาบอกชื่อถ้ำนี้คือ ถ้ำเลียงผา  เราสำรวจสภาพภูมิประเทศและถ่ายภาพไว้ต่อมาก็เดินกลับและไปถึงวัดเวลาบ่าย 2 โมง เราเล่าให้ Noël Hidalgo Than ฟังถึงสิ่งที่พบจากการสำรวจในครั้งนี้  ซึ่งภายหลัง(เขา)ได้ยืนยันว่านักโบราณคดียังไม่รู้จักถ้ำนี้  และเราจะกลับมาอีกเร็ว ๆ นี้!

ถ้ำเลียงผา(ภาพเขียนรูปช้าง)

ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ เราจะสำรวจเทือกเขาหินปูนในพื้นที่ใหม่ ในอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ที่ระดับความสูง 1,000 เมตร  ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระหว่างแควน้อยและแควใหญ่ เป็นระยะประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน  เพราะมีหินหลายยุคในบริเวณใกล้เคียงกัน คือ หินยุคเปอร์เมียน ออร์โดวิเชียน และดีโวเนียน!

ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ เราจะสำรวจเทือกเขาหินปูนในพื้นที่ใหม่ ในอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ที่ระดับความสูง 1,000 เมตร  ซึ่งอยู่ในพื้นที่ระหว่างแควน้อยและแควใหญ่ เป็นระยะประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่ซับซ้อน  เพราะมีหินหลายยุคในบริเวณใกล้เคียงกัน คือ หินยุคเปอร์เมียน ออร์โดวิเชียน และดีโวเนียน!

ที่นั่นมีถ้ำที่ชาวอังกฤษและชาวออสเตรเลียสำรวจไว้ คือถ้ำน้ำมุด ยาว 4 กม. (สำรวจเมื่อี ค.ศ. 1996 / 2002) ซึ่งอยู่ริมถนน บริเวณตอนกลางของเทือกเขาที่ถือว่าเป็นการค้นพบใหม่ของการสำรวจ   เราได้สำรวจถ้ำดาวพระศุกร์ที่อยู่ใกล้วัดถ้ำเนรมิต  มีการค้นพบถ้ำรัตนทิพย์วารีที่พระสงฆ์บอกทางให้  และ ได้ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ซึ่งได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับเรา   แต่เรายังจะไม่เข้าสำรวจในครั้งนี้ เพราะต้องรอให้คุณ เอเตียง มาถึงก่อนในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งมันก็จะร้อนหน่อยๆ และดูจะเสี่ยงไปนิดที่จะไปอยู่ในป่าคนเดียว!

ที่นั่นไม่มีเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าคนใดพูดภาษาอังกฤษได้เลย และมีชาวบ้านน้อยมาก! ดังนั้น งานนี้ถ้าไม่มีคุณสุนันทา(ช่วยเป็นล่ามให้) เราคงจะทำงานลำบาก  เราได้ติดต่อคุณชัยพร ศิริพรไพบูลย์ เพื่อกำหนดวันเวลาสำหรับโปรแกรมการฝึกอบรมการใช้เครื่องมือสำรวจผังถ้ำ คือเครื่อง disto X2 และเทคนิคการใช้ระบบเชือกในการสำรวจถ้ำ  โดยคาดว่าจะอยู่ในระหว่างวันที่ 12-16 กุมภาพันธ์  ซึ่งเขาจะมาพร้อมกับเพื่อนร่วมงาน 6 คนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล   

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกำหนดการเบื้องต้นที่จะถูกเก็บไว้    หลังจากนั้นคุณสุนันทา ไปรับคุณ เอเตียง( Etienne) ในวันที่ 8 ที่โรงแรมซึ่งเป็นสถานที่กักกันโรคของเขาในกรุงเทพฯ หลังจากเตรียมการมาทั้งวันเราจึงเดินทางไปที่อำเภอไทรโยค และเลือกบังกะโลเป็นที่พักแรม ซึ่งเป็นที่พักที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ   ในครั้งนี้ เราจะสำรวจโพรงถ้ำขนาดเล็ก และภูมิประเทศเทือกเขาหินปูน ที่เคยพบก่อนหน้านี้แล้วที่อยู่ใกล้กับธารน้ำผุดบริเวณไทรโยคใหญ่ และทำการวัดพิกัดตำแหน่ง

ตั้งแต่วันที่ 10 ถึง 12 กุมภาพันธ์ เราจะสำรวจโพรงบางส่วนจาก 43 โพรงที่ คุณกิตติพงษ์ รัตนติเลิศ ชี้ให้เห็น (เป็นงานที่ทำเมื่อปลายปี พ.ศ. 2564 ตามที่เรากำหนดไว้) รวมทั้ง ถ้ำภูมะนาว และระบบจุดน้ำมุดที่มีธารน้ำหายไป  ซึ่งอยู่ห่างจากต้นน้ำไป 5-6 กม. ของธารน้ำผุดดังกล่าว ซึ่งเป็นถ้ำธารลอดที่มีน้ำไหลตลอดปีอยู่ใต้พื้นดินลึกลงไปประมาณสิบเมตร

เราจะสำรวจโพรงถ้ำต่างๆ ประมาณ สิบกว่าแห่งเท่านั้น และ จะเน้นไปที่ ถ้ำพิพัน (Tham Pipan)  ซึ่งเป็นแหล่งอยู่อาศัยที่สำคัญมากของค้างคาวคุณกิตติ (หลายพันตัว) ซึ่งเคยหายไปจากถ้ำเนื่องจากอาจจะถูกรบกวนจากการท่องเที่ยว ส่วนโพรงถ้ำอื่นๆ จะทำการสำรวจในปี 2023

ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 16 กุมภาพันธ์ เราใช้ช่วงเวลานี้เพื่อช่วยเพื่อนชาวไทยในการฝึกการสำรวจถ้ำ โดยคุณเอเตียงเป็นผู้ควบคุมการฝึกอบรม ซึ่งมีการสอนการใช้เครื่องมือสำรวจทำผังถ้ำ คือเครื่อง Disto x2  ตั้งแต่การปรับค่าเพื่อการสอบเทียบมาตรฐานของเครื่องมือ และการใช้โปรแกรมการวาดผังถ้ำที่ชื่อ topodroid (เป็นโปรแกรมในโทรศัพท์มือถือ) การทำแผนที่ภูมิประเทศและการรายงาน    การสำรวจโพรงถ้ำและการสำรวจภายในถ้ำ การใช้อุปกรณ์เชือกในการปีนป่าย วิธีการสำรวจ ซึ่งทำให้เราจะได้เรียนรู้ลักษณะสภาพภูมิประเทศของถ้ำปทุมรัตนาทิพย์วารี และยังได้ไปสำรวจถ้ำเลียงผาอีกครั้ง  รวมทั้งสำรวจถ้ำสามัคคีธรรมเป็นครั้งแรก ที่อยู่บนระดับความสูง 300 เมตร ซึ่งโพรงถ้ำนี้อยู่ระหว่างการสำรวจ  

และระหว่างการเดินทางกลับเรายังพบจุดน้ำมุดที่น้ำไหลหายไปจากผิวดินบริเวณใกล้เคียงด้วย จึงนับว่าเป็นแรงจูงใจที่จะทำให้เรากำลังรีบกลับมาสำรวจอีกครั้ง

ในตอนท้ายของช่วงเวลาแห่งการแบ่งปันความรู้ที่เข้มข้นในบรรยายการที่เป็นมิตรอันดีกับเพื่อนชาวไทยของเรา เราจะสำรวจบริเวณที่ยังไม่เคยมีการสำรวจมาก่อน เพื่อค้นหาและสำรวจโพรงถ้ำขนาดเล็กต่างๆในอำเภอไทรโยคและทองผาภูมิ สำรวจถ้ำลอดไทรโยคใหญ่ให้เสร็จ หรือ ไปสำรวจโถงถ้ำที่มีลัก๋ณะเป็นกาลักน้ำ และมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 

คุณสุนันทาไม่อยู่เป็นเวลา 15 วัน แต่ก็ได้ช่วยประสานงานให้เราโดยเขียนเป็นภาษาไทย (ในการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ ฯ)  เราจะเริ่มดำเนินการสำรวจเทือกเขาหินปูนในอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์ ซึ่งได้สำรวจภูมิประเทศและถ้ำดาวพระศุกร์ ซึ่งสำรวจได้ความยาว 650 เมตร ลึก 35 เมตร (VR 35m L topo 650m) และคาดว่าจะสำรวจได้ถึง 900 เมตรโดยประมาณ) ส่วน ถ้ำพิสุทธิ์ และ ถ้ำมะพร้าว สามารถระบุตำแหน่งได้แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าสำรวจและศึกษาในรายละเอียด

ถ้ำดาวพระศุกร์ มีลักษณะเด่นที่น่าสนใจเป็นพิเศษเกี่ยวกับการกัดกร่อนทางชีวภาพ และมีความหลากหลายของตะกอนถ้ำหรือประติมากรรมถ้ำจำนวนมากและเราได้สังเกตเห็นการมีอยู่ของแร่อะราโกไนต์ซึ่งหาได้ยากในภูมิภาคนี้

ถ้ำดาวพระศุกร์

เราค้นพบถ้ำที่มีแนวโน้มเป็นระบบใหม่ที่ ถ้ำลองจู และ ถ้ำน้ำแม่กระบุง หลังจากวันเวลาอันน่าจดจำเพราะได้ข้อมูลจาก การบอกเล่าของเพื่อนผู้สูงอายุ 2 คนในหมู่บ้าน

เราสำรวจลำธารใต้ดิน เป็นครั้งแรก ซึ่งมีความยาว150 เมตรที่ไหลผ่านชั้นหินดินดาน ซึ่งมองเห็นได้  

และมีธารน้ำผุดอยู่ภายใต้โถงถ้ำ (ตามคำบอกของเจ้าของสถานที่ลุงชู) เราจะกลับมาพร้อมกับคุณสุนันทาเพื่อพูดคุยเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับกำหนดเวลาการสิ้นสุดการสำรวจและการสำรวจบริเวณต้นน้ำเพิ่มเติม ตลอดจนการค้นหาโพรงถ้ำอื่นๆโดยรอบ  เพราะบริเวณเหนือเทือกเขานี้ถือว่าเป็นพื้นที่ที่มีความบริสุทธิ์ ยังไม่มีการสำรวจใดๆ ในระยะ 10 กม.  ในขณะที่บริเวณทางเข้าต้นน้ำได้ทำการพัฒนาเกิน 1 กิโลเมตรไปแล้ว

มีการนัดหมายกับ ลุงชู สำหรับกำหนดการในปี  2023 (พ.ศ, 2566)  เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าพาเราไปดูบริเวณที่เป็นธารน้ำผุดทางตอนเหนือของห้วยแม่ขมิ้น ซึ่งบางทีอาจเป็นธารน้ำที่มีความคดเคี้ยวไหลผ่านโถงถ้ำอยู่ใต้ดิน? และเราจะกลับไปสำรวจอีกครั้ง ในบริเวณที่ไกลออกไปทางเหนือของเทือกเขาสูงในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เพราะเราพบว่ามีโพรงถ้ำที่น่าสนใจซึ่งอาจเป็นต้นน้ำของเครือข่ายถ้ำน้ำมุด! แต่พระสงฆ์ไม่ต้องการให้เราสำรวจถ้ำ เพราะกลัวว่าจะมีหลงทางอยู่ในป่า

เราจะได้รับอนุญาตโดยการกลับมาพร้อมกับคุณสุนันทาเมื่อสิ้นสุดการสำรวจ ในโอกาสนี้ ข้าพเจ้าสามารถเข้าใกล้โพรงที่มีลมพัดออกมาแรงมาก มัคนายกของวัดได้ให้รายละเอียดการติดต่อกับหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในภูมิภาคภายหลัง (คุณอรุณ สุขกิจดี) ซึ่งขอให้เราแจ้งให้เขาทราบถึงกำหนดการครั้งต่อไปในปี 2566 และ เขาต้องการเข้ามาร่วมสำรวจกับเราด้วย!

ในช่วงท้ายของการสำรวจครั้งนี้  ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัส โควิด-19 และความยากลำบากในการเข้าถึง เราจะคงไว้สำหรับการค้นพบครั้งสำคัญนี้ เช่น ถ้ำเลียงผา ที่มีความเหมาะสมสำหรับการศึกษาทางโบราณคดีและซากดึกดำบรรพ์  และ ความสำคัญของเครือข่ายการฝึกอบรมครั้งล่าสุดในพื้นที่เทือกเขาหินปูนในพื้นที่ไทรโยคใหญ่   และรวมทั้งการค้นพบระบบถ้ำธารลอดอย่างไม่คาดฝันถึง 2 ระบบในอุทยานแห่งชาติศรีนครินทร์

ท้ายที่สุดของรายงานนี้  เรากำลังวางแผนการสำรวจในปี พ.ศ. 2566 โดยมีพื้นที่เป้าหมายคือ การสำรวจโพรงถ้ำบนเทือกเขาพุทอง ในจังหวัดกาญจนบุรีและถ้ำผาก้าน ในพื้นที่จังหวัดลำปาง

การสร้างสายสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานชาวไทยของเราได้เพิ่มพูนขึ้นในทุกจุด และการดำเนินการนี้จะต้องได้รับการสานต่อ  เราจะตั้งโปรแกรมการติดตามร่วมกัน (ของระบบการไหลของน้ำในถ้ำใต้ดิน) ในพื้นที่ไทรโยคและบางทีอาจจะเป็นบริเวณเขาพุทอง  ซึ่งพวกเขา (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล: DGR) มีอุปกรณ์ในตรวจสอบและวิเคราะห์

รายชื่อผู้เข้าร่วม:

สุนันทา โลสุวรรณ (expé khaophuthong)

เอเตียน ฟาเบร (spéléo club de l’Aude)

Didier Rateau (expé เขาพุทอง)

ชัยพร ศิริพรไพบูลย์ (นักธรณีวิทยา และถ้ำวิทยา)

เบญญา สุนันทา (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล)

ปัทมา อังคณา (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล)

ณัฐภัทร เกตุสุวรรณ (กรมทรัพยากรน้ำบาดาล)

พรอุษา อุดมศิลป์ (หัวหน้าทีม กรมทรัพยากรน้ำบาดาล)

กิตติพงษ์ ปาลี

อรุณ สุขกิจดี

กิตติพงศ์ รัตนทิเลิศ (เป็นคนสำรวจถ้ำในปี พ.ศ. 2564 และพบข้อมูลที่สำคัญทำให้การเตรียมการทำได้ดีก่อนการมาถึงของเรา)

ขอขอบคุณ Éric David สำหรับคำแนะนำ WTOPO ของเขา และ Jean Luc Baqué สำหรับการพิสูจน์อักษร   หุ้นส่วนพันธมิตร , PETZL-RODCLE-SCURION-AVENTURE VERTICALE

การสำรวจ  เขาพุทอง-เขาท่าขนุน-18 la perré groslot 37130